ภาพกิจกรรม:   กิจกรรมพิธีน้อมรำลึกลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณวันปิยมหาราช 2566   ลงภาพเมื่อ 25 ต.ค. 2566, 16:19 น.

โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ร่วมพิธีน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน "วันปิยมหาราช 2566"
เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖
เวลา ๐๗.๐๐ น. - ๑๐.๐๐ น. ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านแฮด
โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ถวายมาลัยกรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้


กำหนดการ
๐๗.๐๐ น. - ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณพีธี
      - ส่วนราชการ / หน่วยงานรัฐวิสาหกืจ องค์กรเอกชน และภาคประชาชนในอำเภอบ้านแฮด
      วางพวงมาลาเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเต็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตามลำดับ
      - ประธานในพิธีเดินทางมาถึงบริเวณพิธี เข้ายืนประจำจุด
      - ประธานถวายมาลัยกรพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
      - ประธานจุดเครื่องทองน้อย
      - ประธานขึ้นวางพวงมาลาบริเวณเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
      - ประธานอ่านคำกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ
      - บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
      - ประธาน พร้อมผู้ร่วมพิธีถวายความเคารพ
      เสร็จพิธี

การแต่งกาย - ข้าราชกาลพลเรือน/พนักงานรัฐวิสาหกิจ : เครื่องแบบปกติขาว สวมหมวก
สุภาพสตรี เกล้าเก็บผมให้เรียบร้อย/รองเท้าแบบเรียบหุ้มสัน ไม่แฟชั่น
สุภาพบุรุษ โกนหนวดเคราให้เรียบร้อย
- ข้าราชการทหาร/ตำรวจ : เครื่องแบบปกติขาว สวมหมวก พร้อมกระบี่ ถุงมือ
- สมาชิกเหล่ากาขาดจังหวัดขอนแก่น : ชุดไทยอัมรินทร์โทนสีชมพู
- องค์กรเอกชน นักเรียน นักศึกษา : ชุดเครื่องแบบของหน่วยงาน
- จิตอาสาพระราชทาน : ชุดจิตอาสาพระราชทาน
- ประชาชน : ชุดผ้าไทย/สุภาพโทนสีชมพู
- ผู้มาร่วมพิธีสวมหน้ากากอนามัยสีขาว หรือหน้ากากผ้าสีขาวตลอดการเข้าร่วมพิธี

 ในวันที่ 23 ต.ค.ของทุกปี ตรงกับ "วันปิยมหาราช" เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญของชาติ และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทั้งในการปกครอง
บ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามพระองค์
"พระปิยมหาราช” อันมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับ
สมเด็จพระเทพศิรินทราพระบรมราชินี หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต
เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ได้พร้อมกันถวายพระราชสมบัติแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิต
ประชานาถเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2411
ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง16พรรษา
ขุนนางผู้ใหญ่จึงแต่งตั้งเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระราชกรณียกิจสำคัญ

พระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ เพื่อทอดพระเนตรการบริหารบ้านเมืองและวิทยาการสมัยใหม่จากประเทศแถบยุโรป
เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่มาของพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้านของพระองค์ เช่น การทหาร
และการปกครองประเทศ ทรงนำแบบอย่างทางทหารของประเทศแถบยุโรปมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีการจัดตั้ง
กรมเสนาธิการทหารบกขึ้นเป็นครั้งแรก และทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและทหารเรือ ตลอดจนส่งพระราชโอรสไปศึกษา
วิชาการทหารในทวีปยุโรป

"เลิกทาส" ให้เป็นไท

พระราชกรณียกิจอีกประการที่สำคัญยิ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเลิกทาส พระองค์ทรงมี
พระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไท ตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงไม่ต้องการให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทย
ด้วยกันเอง และทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ต.ค.2453 สิริรวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา นับเป็นความสูญเสีย
ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ และเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย สมกับพระราชสมัญญา "พระปิยมหาราช”
ซึ่งแปลความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”
โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมี
พระวิริยะอุตสาหะ ทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว

ถ่ายภาพ/เรียบเรียง นายสัตยา กันพรมมา

https://drive.google.com/drive/folders/1gdr7DB-w22d004d3A-8vlMowNqkqwbCO?usp=drive_link